วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


บทที่ 10
ภารกิจของผู้บริหารโรงเรียน
10.1 การบริหารงานวิชาการ
10.1.1 การบริหารการศึกษา แบ่งเป็นงาน 6 อย่าง
                1.การบริหารงานวิชาการ
                2.การบริหารงานบุคคล
                3.การบริหารงานกิจการนักศึกษา
                4.การบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน
                5.การบริหารงานการเงิน
                6.อาคารสถานที่
                ธุรการ + บริการ
10.1.2 การเรียนรู้ในระบบโรงเรียน
                ขึ้นอยู่กับกันระหว่างผู้เรียนกับองค์ประกอบต่างๆ
10.1.3 ลักษณะและความสำคัญของงานวิชาการ
เมื่องานวิชาการถือเป็นหัวใจของสถานศึกษา จึงถือว่างานวิชาการท้าทายผู้บริหารการศึกษา เพราะผลผลิต ของโรงเรียนจะมีคุณภาพเพียงใด งานวิชาการจะเป็นเครื่องบ่งชี้
10.1.4 งานวิชาการ มีลักษณะอย่างไรและเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง
                งานเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน
10.1.5 ขอบข่ายงานบริหารวิชาการ
                1.การวางแผน
2.การจัดแผนการเรียน
3.การจัดตารางการเรียนการสอน
4.การจัดครูเข้าสอน
5.การพัฒนาการเรียนการสอน
6.การจัดการเรียนการสอน
7.การพัฒนาครูด้านวิชาการ
8.การจัดกิจกรรมนักเรียน
9.การวัดและประเมินผลการเรียน
10.งานทะเบียนนักเรียน
11.งานวิชาการอื่นๆ
12.การประเมินผลทางวิชาการ
10.1.6 ผู้บริหารกับการบริหารหลักสูตร
                1.หลักสูตร
                2.กระบวนการบริหารหลักสูตร
10.1.7 การนิเทศ
เป็นการปรับปรุงคุณภาพการศึกษา ผู้เป็นคนนิเทศคือ ผู้บริหารและศึกษานิเทศก์
10.2 การบริหารบุคคล
                10.2.1 ความหมาย
คือการใช้คนให้ทำงานได้ผลดีที่สุด ภายในระยะเวลาที่สั้นที่สุด  สิ้นเปลืองเงินน้อยที่สุด ขณะเดียวกันคนที่เราใช้งานต้องมีความสุข มีความพอใจ
                10.2.2 ความสำคัญของการบริหารบุคคล
คนเป็นผู้บันดาลให้ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้น ไม่ว่าเป็นการบริหาร ในการจัดการอย่างใดก็ตาม คนย่อมเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เพราะคนเป็นผู้จัดงาน รวมถึงเป็นผู้ริเริ่มวางแผน การบริหาร การกำกับการ ตลอดจนถึงการดำเนินงานและคอบปรับปรุงงาน
                10.2.3 วัตถุประสงค์การบริหารบุคคล
                                1.เพื่อสรรหาและเลือกสรร
                                2.เพื่อใช้ประโยชน์มากที่สุด
                                3.เพื่อพัฒนาให้มีสมรรถภาพมากขึ้น
                10.2.4 กระบวนการบริหารบุคคล
                                1.กำหนดนโยบาย
                                2.การวางแผน
                                3.การวางโรงงาน
                                ฯลฯ
                10.2.5 หลักการบริหารบุคคล
                                1.หลักด้านความรู้ความสามารถ
                                2.หลักเสมอภาค
                                3.หลักความเป็นกลาง
ฯลฯ
10.3 การบริหารงานธุรการในโรงเรียน
                10.3.1 ความหมาย
งานธุรการเป็นเรื่องของการให้บริการแก่หน่วยงานต่างๆ ของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา จะส่งผลให้การเรียนการสอนเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
                10.3.2 ความสำคัญ
                                1.งานธุรการเสมือนเป็นน้ำมันหล่อลื่นให้เครื่องจักร
                                2.ผู้บริหารจะใช้เวลาเอาใจใส่ และให้ความสนใจงานธุรการมาก
                                3.เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความสามารถของผู้บริหาร
                10.3.3 ขอบข่ายของการบริหารงานธุรการ
                                มีผู้แบ่งขอบข่ายงานบริหารธุรการไว้มากมาย ทั้งนี้ข้นอยู่กับขนาดของโรงเรียน เป็นต้นว่า
                                1.งานเกี่ยวกับสารบรรณ
                                2.การเงินและบัญชี
                                3.งานการพัสดุ
                                4.งานทะเยียนและรายงาน
10.4 การบริหารกิจกรรมนักเรียน
                10.4.1 ความหมาย
การบริหารและการนิเทศบรรดากิจการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับนักเรียน ในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนในห้องเรียน
10.5 การบริหารอาคารสถานที่และบริการด้านอื่นๆ
                10.5.1 ความหมาย
การรู้จักจัดหา รู้จักใช้อาคารให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งการควบคุมดูแลรักษา การให้บริการแก่ชุมชน และการรู้จักส่งเสริมทำนุบำรุงอาคารสถานที่ให้อยู่คงสภาพดี และสนองความต้องการได้อย่างเพียงพอในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

บทที่ 9
การตัดสินใจสั่งการหรือการวินิจฉัยสั่งการ
9.1 ความหมายของการตัดสินใจ
หมายถึง การชั่งใจไตร่ตรองหาเหตุผล และตัดสินใจเลือกทางปฏิบัติ ที่ว่าดีที่สุด ซึ่งมีอยู่หลายทางเพื่อให้การดำเนินงานไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
9.2 หลักการในการตัดสินใจหรือวินิจฉัยสั่งการ   หลักการสั่งงานมีดังนี้
1.ต้องรู้แจ้งในข้อเท็จจริง
2.ต้องสั่งงานให้ตรงประเด็น
9.3 องค์ประกอบต่างๆที่นำมาใช้ในการตัดสินใจหรือวินิจฉัยสั่งการ
1.ข่าวสาร
2.การเสี่ยง
3.นโยบาย
4.ปัญหาต่างๆ
5.เวลา
9.4 กระบวนการตัดสินใจโดยใช้เหตุผล
1.กำหนดปัญหา
2.ค้นหาทางเลือก
3.การประเมินทางเลือก
4.ทำการตัดสินใจ
5.การปฏิบัติตามการตัดสินใจ
6.การประเมินผลลัพธ์และการจัดหาการป้อนกลับ
9.5 ประเภทการตัดสินใจ
1.พิจารณาจากตัวบุคลากร
2.พิจารณาจากงาน
9.6 ลักษณะของการตัดสินใจ
1.ภายใต้สภาวะการณ์ที่แน่นอน
2.สภาพความไม่แน่นอน
3.สภาพความเสี่ยง
4.สภาพความเคลือบคลุม
9.7 ประโยชน์ของการตัดสินใจ
1.ทำให้งานสำเร็จตามวัตถุประสงค์
2.เกิดการประสานงานที่ดี
3.ช่วยประหยัดทรัพยากร


บทที่ 8
การประสานงาน
8.1 ความหมาย
                      การประสานงาน คือ การจัดระเบียบวิธีการทำงาน เพื่อให้งานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ร่วมมือปฏิบัติงานเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
8.2 ความมุ่งหมายในการประสานงาน
                      1.ช่วยให้คุณภาพและผลงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์
                      2.เพื่อขจัดความซ้ำซ้อนกันของการทำงาน
                      3.เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งกัน
8.3 ภารกิจในการประสานงาน
                      1.นโยบาย
                      2.ใจ
                      3.แผน
                      4.งานที่รับผิดชอบ
                      5.คน
                      6.ทรัพยากร
8.4 หลักการประสานงาน
                      1.จัดให้มีระบบติดต่อสื่อสารที่ดี
                      2.มีระบบความร่วมมือที่ดี
                      3.ประสานงานที่ดี
8.5 เทคนิคในการร่วมมือประสานงาน
                      1.เงื่อนไขทางวัฒนธรรม
                      2.ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
                      3.กิจกรรมทางการจัดการ
                      4.ลำดับขั้นของการบังคับบัญชา
8.6 วิธีการประสานงาน
                      1.ประสานงานภายในองค์การ
2.ประสานงานระหว่างองค์การ
8.7 การประสานงานที่มีประสิทธิภาพ
1.โครงสร้างของการบริหารที่ชัดเจน
2.นโยบายหรือข้อกำหนดต่างๆ
3.บุคคลที่ทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
8.8 ประโยชน์ของการปฏิบัติงาน
1.ลดการขัดแย้งในการทำงาน
2.ช่วยประหยัดเงิน เวลา และแรงงาน
3.ช่วยให้บรรลุเป้าหมายอย่าเร็วขึ้น
8.9 อุปสรรคในการประสานงาน
1.การขาดมนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน
2.การขาดแผนการปฏิบัติงาน
3.ความสามารถของผู้ปฏิบัติงานแตกต่างกัน
4.การติดต่อสื่อสารไม่ดี
5.กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบไม่ชัดเจน


บทที่ 7  ภาวะผู้นำ
ผู้บริหารไม่จำเป็นต้องถูกเสมอไป แต่ผู้บริหารก็คือผู้บริหาร กฎการทำงาน 2 ข้อที่ควรจำไว้คือ
1.ผู้บริหารผิดไม่ได้
2.เมื่อใดก็ตามที่สงสัยว่าผู้บริหารผิดให้ย้อนไปดูข้อ 1.
7.1 ความหมายของภาวะผู้นำ
ผู้นำ หมายถึง การที่บุคคลสามารถใช้ศิลปะในการโน้มน้าวจิตใจผู้อื่นให้ร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
7.2 องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำ
1.ผู้นำ
2.ผู้ตาม
3.สถานการณ์
7.3 ประเภทและแบบของผู้นำ
                7.3.1 ประเภทผู้นำแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
                                1.ผู้นำประเภทนิเสธ
                                2.ผู้นำประเภทปฏิฐาน
                7.3.2 แบบของผู้นำ
                                1.พิจารณาจากการใช้อำนาจ
                                2.พิจารณาจากแหล่งที่มาของอำนาจ
                                3.พิจารณาจากแนวคิดของ Getzels and Guba
                                4.พิจารณาตามแนวพฤติกรรมศาสตร์
7.4 หน้าที่ของผู้นำ
1.หน้าที่ที่มีต่อองค์การ
2.หน้าที่ที่มีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
3.หน้าที่ที่มีต่อหน่วยงานอื่นในองค์การเดียวกัน
4.หน้าที่ที่มีต่อตัวเอง
7.5 ลักษณะประจำตัวของผู้นำ
1.มีคุณลักษณะพิเศษเฉพาะตัว
2.มีความรู้และความสามารถในการบริหารและในการทำ
3.มีความตั้งใจสูง
4.มีความรับผิดชอบ
5.มีความเป็นธรรม
6.มีใจกว้าง
7.มีฐานะทางสังคม
8.มีศิลปะในการนำ
7.6 คุณลักษณะและคุณสมบัติของผู้นำที่ดี
1.คุณสมบัติด้านวิชาการ
2.คุณลักษณะด้านบุคลิกภาพ
3.คุณลักษณะทางด้านความสามารถในการปฏิบัติงาน
7.7 ศิลปะของการเป็นผู้นำ
1.เป็นผู้นำที่ดี
2.มีศิลปะในการสั่งการ
3.มีศิลปะในการบริหาร
4.การประพฤติตนเป็นตัวอย่างแก่ผู้ร่วมงาน