วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


บทที่  5
องค์การและการจัดองค์การ
 องค์การตามแนวคิด หมายถึง ส่วนประกอบที่เกิดจากระบบย่อยหลายระบบที่มีปฏิสัมพันธ์กันภายใต้สิ่งแวดล้อมหรือระบบใหญ่ เราสามารถจำแนกองค์การที่อยู่รอบตัวเราออกเป็น   ลักษณะใหญ่ๆ คือ
1.องค์การทางสังคม
2.องค์การทางราชการ
3.องค์การเอกชน
แนวคิดในการจัดองค์การ
1.  แนวคิดในการจัดองค์การมาจากพื้นฐานการดำเนินงานขององค์การที่ภารกิจมาก
2.  แนวคิดในการจัดองค์การยังต้องคำนึงถึง  ผู้ปฏิบัติงาน
3.  แนวในการจัดการองค์การ  จะต้องกล่าวผู้บริหารควบคู่กันไป
ความสำคัญของการจัดองค์การเป็นที่รวมของคนและเป็นที่รวมของงานต่างๆ  เพื่อให้พนักงานขอองค์การ  ปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ
องค์ประกอบในการจัดองค์การ
                1.  หน้าที่การงานเป็นภารกิจ
                2.  การแบ่งงานกันทำ
                3.  การรวมและการกระจายอำนาจในการจัดการองค์การ
ทฤษฎีองค์การ  ความรู้ที่ได้จากทฤษฎีขององค์การอันด้มาจากสังคมวิทยา  รัฐศาสตร์  และบางส่วนของจิตวิทยาสังคมกับเศรษฐศาสตร์                 
ระบบราชการและองค์การทางการศึกษา ให้ความหมายไว้ว่าระบบราชการ  หมายถึง  ระบบการบริหารที่มีลักษณรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางอย่างมาก  มีความอิสระในการปฎิบัติงานและเป็นกึ่งทหาร


บทที่ 4
กระบวนการทางการบริหารการศึกษา
การบริหารการศึกษา เป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของรัฐบาลในการบริหารประเทศ การบริหารการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของรัฐประศาสนศาสตร์  ปรัชญาที่ผู้บริหารการศึกษาควรสนใจและนำไปเป็นหลักในการจัดการศึกษาในโรงเรียนมี 2 เรื่อง คือ
1.การจัดระบบสังคม
2.เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษา
4.1 ความคิดรวบยอดในการบริหารการศึกษา
1.ผู้บริหารทำอย่างไรก็ได้ ระดมเทคนิคต่างๆที่มีอยู่ ให้ครู ทำการอบรมสั่งสอนด้วยความเอาใจใส่ต่อเด็ก
2.ผู้บริหารทำอย่างไรก็ได้ ขอให้การปกครองบังคับบุคลากรในโรงเรียนได้อยู่ในระเบียบวินัย
4.2 กระบวนการบริหารการศึกษา
จากปรัชญาการศึกษา ความคิดรวบยอด และการจัดระบบการศึกษา ประมวลความคิดในเรื่องกระบวนการบริหารการศึกษาได้ว่า  ในการบริหารการศึกษานั้น นอกจากหลักการบริหารแล้ว กระบวนการบริหารเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่ง เพราะการจัดการธุรกิจการศึกษามีปัจจัยต่างๆจำนวนมากที่มาเกี่ยวข้อง เช่น บุคลากร เป็นต้น
4.3 การวางแผน
1.ความหมายของการวางแผน
การวางแผน คือ การเตรียมการ หรือคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ทำให้ผู้บริหารมีความพร้อมในการปฏิบัติงาน
2.ความสำคัญของแผนงาน
                -ช่วยให้การบริหารเป็นไปอย่างสอดคล้องกัน
                -การกระทำตามแผน ประหยัดทั้งคน เงิน และเวลา
                -แผนงานที่ดีจะทำให้งานดำเนินเร็วอย่างมีประสิทธิภาพ
3.ประโยชน์ของการวางแผน
                -เกิดกิจกรรมที่เป็นระเบียบ
                -การพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว
                -มีความสำคัญก่อนมีการลงทุน
4.คุณลักษณะของแผนที่ดี
                -กำหนดเป้าหมายขององค์กร
                -แผนจะต้องอยู่ในรูปของปริมาณ
                -กิจกรรมทั้งหมดต้องมีการวางแผนล่วงหน้า
5.ข้อกำหนดของการวางแผน
ถ้าหากการวางแผนไม่ได้ดำเนินด้วยความถูกต้อง มันอาจจะมีผลเสีย มีข้อจำกัดบางอย่างในการวางแผน นอกเหนือจากจุดยืนของแผนแล้ว จุดที่ควรระวัง คือ การวางแผนที่แน่นอนในอนาคต
6.ประเภทของแผน
จำแนกโดย การใช้  เวลา  ระดับองค์การ  และลักษณะเฉพาะ
7.ปัจจัยในการวางแผน
                -เหตุผลความจำเป็น
                -ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
                -ปัจจัยในการบริหาร
                -ระยะเวลา
                -อำนาจหน้าที่
                -การจัดทำแผนเป็นลายลักษณ์อักษร
8.ขั้นตอนในการวางแผน
                -มีความจำเป็นและมีนโยบายที่แน่นอน
                -สามารถกำหนดวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับนโยบาย
                -เสนอความเห็นชอบจากผู้มีอำนาจ
9.กระบวนการวางแผน
                -การเตรียมการ
                -การสร้างแผน
                -การปฏิบัติตามแผน
                -การประเมินผลแผน
4.4  ทรัพยากรบริหารการศึกษา
ปัจจุบันเอาระบบการบริหารการศึกษามาเปรียบเทียบกับการบริหารอย่างอื่นที่ใช้ 4’P ก็จะพบว่ามีด้านใดบ้าง
1.ความมุ่งหมาย
2.บุคคล
3.กระบวนการ
4.ผลิตผล



บทที่  3
งานบริหารการศึกษา
การบริหารการศึกษานั้น ไม่ได้แตกต่างจากการบริหารทั่วๆไป แต่สามารถนำหลักการของการบริหารทั่วไปมาใช้กับการบริหารการศึกษาได้
3.1 งานของผู้บริหารการศึกษา  จัดเป็นงานใหญ่ๆ 3 ประเภท
                1.งานที่คนนอกมองว่าเป้นงานที่ผู้บริหารกำลังทำอยู่
                2.งานที่คนนอกคิดว่าผู้บริหารควรทำ
                3.งานที่ผู้บริหารการศึกษาเองคิดว่าเป็นความรับผิดชอบที่ตนต้องทำ  จะมีใครกำหนดหรือไม่ก็ตาม
3.2 ภารกิจของการบริหารการศึกษา
ผู้บริหารโดยเฉพาะผู้บริหารการศึกษา จะต้องทำ หรือควรทำ มีผลวิจัยแตกต่างกันพอสรุปได้ดังนี้
                1.จำแนกตามลักษณะและขอบข่ายงานบริหารการศึกษา ผู้บริหารโรงเรียนต้องทำมี 5 ประเภท คือ
                -การทำงานประสานกับประชาชน
                -การบริหารงานธุรการต่างๆ
                -การบริหารและพัฒนาอาคารสถานที่
                -การบริหารงานด้านวิชาการ
                -การให้บริการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการศึกษาโดยทั่วๆไป
                2.จำแนกตามบทบาทและพฤติกรรมการบริหาร พฤติกรรมที่พึงประสงค์มี 9 ประการ คือ
                -กำหนดเป้าหมาย
                -กำหนดนโยบาย
                -กำหนดบทบาท
                -ประสานงาน
                -ประเมินประสิทธิภาพ
                -ทำงานกับผู้นำชุมชน เพื่อการปรับปรุงส่งเสริมการศึกษา
                -ใช้ทรัพยากรทางการศึกษาของชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                -การติดต่อสื่อสาร
                -การให้ประชาชนมีส่วนร่วม
                ***องค์ประกอบทางส่วนบุคคล***
                -เจตคติ ค่านิยม ความเชื่อ อุปนิสัย การรับรู้
                -ความสามารถ
                -ลักษณะทางสังคมจิตวิทยา
                3.จำแนกตามเกณฑ์สมรรถภาพของผู้บริหาร ดูที่ภารกิจสำคัญๆ แบ่งเป็น 8 ประเภท คือ
                -การพัฒนาหลักสูตรและการสอน
                -กิจการนักเรียน
                -ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
                -การบริหารบุคคลในโรงเรียน
                -การบริหารอาคารสถานที่
                -ยานพาหนะ
                -การจัดระบบงาน
                -งานธุรการและการเงินโรงเรียน
3.3 ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้บริหาร
Robert L. Katz   เรียกความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานของผู้บริหารว่า 3 ทักษะ คือ
                1.ทักษะในคตินิยม
                2.ทักษะในทางมนุษสัมพันธ์
                3.ทักษะทางเทคนิค
3.4 การบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพของนักบริหาร
คือ งานที่ทำแล้วสำเร็จตามวัตถุประสงค์เป็นที่พอใจของผู้ปฏิบัติงานและเกิดความเรียบร้อย ซึ่งจะต้องมีองค์ประกอบดังนี้
                1.ผู้บริหารต้องรู้จักการวางนโยบาย
                2.ผู้บริหารต้งรู้จักแบ่งงาน
                3.ผู้บริหารจะต้องวางแผนงานเป็น
                4.รู้จักการจัดองค์การ
                5.ด้านบุคลากร
                6.ผู้บริหารต้องใช้ทักษะของผู้บริหารที่สำคัญคือ การวินิจฉัยสั่งการ
                7.การประสานงานกับความจำ
                8.ผู้บริหารต้องรู้จักหาเงินมาเพื่อการบริหาร
                9.ผู้บริหารต้องรู้จักการประเมินผลงานอยู่เสมอ
3.5 ทักษะที่ใช้เพื่อการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อการบริหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ นักบริหารมีความจำเป็นจะต้องพิจารณาข้อต่อไปนี้
                1.ต้องรู้จักประเมินผลวัตถุประสงค์อยู่เสมอ
                2.ประเมินความต้องการ
                3.การรู้จักผูกน้ำใจคน
                4.รวบรวมเอาความเก่ง ความฉลาดจากคนส่วนใหญ่
                5.จัดคนให้ถูกกับงาน
                6.ศิลปะในการมีคนน้อย
                7.ผู้บริหารต้องรู้จักการยกย่อง
                8.ความเฉียบขาด มั่นคงของผู้บริหาร เป็นหนทางให้สามารถปกครองลูกน้อง กำกับดูแลงานได้


บทที่ 2
วิวัฒนาการของการบริหารยุคต่างๆและการประยุกต์ในการบริการศึกษา

2.1 วิวัฒนาการด้านรัฐกิจ
การบริหารรัฐกิจ  เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปกครอง ซึ่งเกี่ยวพันกับกฎหมายต่างๆของรัฐ  พอจำแนกวิวัฒนาการทางด้านการศึกษาให้เข้าใจได้ดังนี้
ระยะ 1  โครงสร้างการบริหารจะเป็นไปในรูปองค์การรูปนัย
ระยะ 2  การศึกษาเรื่องการบริหาร หันมาเน้นพฤติกรรมองค์การ
ระยะ 3  การศึกษาหันมาผสมผสานแนวคิดในระยะ1 และ ระยะ2
2.2 วิวัฒนาการด้านธุรกิจ
การพัฒนาหลักการบริหารได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น  จนทำให้เกิดความต้องการ วิธีการบริการที่ทันสมัยมากขึ้นด้วย ประกอบกับเทคโนโลยีทางอุตสาหกรรมที่ทันสมัยด้วย  ต้นศตวรรษที่ 19 เกิดวิวัฒนาการทางการจัดการขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์
2.3 การแบ่งยุคของนักทฤษฎีการบริหาร
                1. ยุคที่ 1 นักทฤษฎีการบริหารสมัยเดิม
                2.  การประยุกต์ใช้หลักการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ในการบริหารการศึกษา
                3.  ยุคที่ 2 ยุค Human Relation Era ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์
                4.  การประยุกต์ใช้หลักมนุษยสัมพันธ์ในการบริหารการศึกษา
                5.  ยุคที่ 3 ยุคการใช้ทฤษฎีทางการบริหาร
                6.  การประยุกต์ใช้พฤติกรรมศาสตร์ในการบริหารการศึกษา
                7.  ทฤษฎีองค์การเชิงระบบ
                8.  การประยุกต์เชิงระบบในการบริหารการศึกษา