ให้นักศึกษาอ่านบทความต่อไปนี้
วิเคราะห์แสดงความคิดเห็น
1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา
ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง
วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน
แท็บเล็ต ( Tablet ) เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กกว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค พกพาง่าย
น้าหนักเบา มีคีย์บอร์ด ( keyboard ) ในตัว หน้าจอเป็นระบบสัมผัส
( Touch-screen )ปรับหมุนจอได้อัตโนมัติ แบตเตอรี่ใช้งานได้นานกว่าคอมพิวเตอร์พกพาทั่วไป
ระบบปฏิบัติการมีทั้งที่เป็น Android IOS และ Windows
ระบบการเชื่อมต่อสัญญาณเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีทั้งที่เป็น
Wi-Fi และ Wi-Fi + 3G
อาจสรุปในความหมายที่แท้จริงของแท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์กระดานชนวนก็คือ
แผ่นจารึกที่เอาไว้บันทึกข้อความต่างๆโดยการเขียนซึ่งมีมานานแล้วในอดีต แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่มีการปรับใช้แนวคิดนี้ขึ้นมาแทนที่
ซึ่งจะมีหลายบริษัทที่ได้ให้คานิยามหรือการเรียกชื่อที่แตกต่างกันออกไปเช่น แท็บเล็ตพีซี (
Tablet PC ) ซึ่งมาจากคาว่า Tablet Personal Computer และ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ( Tablet )
จนปัจจุบัน สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจะมีบทบาทสาคัญค่อนข้างมากต่อการนามาใช้ในการพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพทางการเรียนในสังคมยุคใหม่ในปัจจุบันที่สื่อการศึกษาประเภท “คอมพิวเตอร์”จะมีอิทธิพลค่อนข้างสูงในศักยภาพการปรับใช้ดังกล่าว และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาไทยตามนโยบายการแจกแท็บเล็ตเพื่อเด็กนักเรียนในปัจจุบันโดยมุ่งเน้นให้กลุ่มนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
1 ตามโครงการ One Tablet PC Per Child ซึ่งเป็นไปตามนโยบายรัฐบาลที่แถลงไว้นั้น
เป็นการสร้างมิติใหม่ของการศึกษาไทยในการเข้าถึงการปรับใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
( นายวรวัจน์ เอื้ออภิญกุล ) ได้กล่าวไว้ว่าการจัดหา
เครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียนโดยเริ่มดาเนินการในโรงเรียนนาร่องสาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
1 ปีการศึกษา 2555 ควบคู่กับการพัฒนาเนื้อหาสาระที่เหมาะสมตามหลักสูตรบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต
รวมทั้งจัดระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายในระดับการใช้ การบริหารและในพื้นที่สาธารณะและสถานศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ประเด็นที่กล่าวถึงนี้อาจสรุปได้ว่าศักยภาพของสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาประเภทคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต (
Tablet PC )ที่เริ่มมีความสาคัญและมีอิทธิพลต่อผู้ใช้ในทุกรดับในสังคมสารสนเทศในปัจจุบัน
เนื่องจากในยุคแห่งสังคมออนไลน์หรือยุคเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์นั้น สื่อเทคโนโลยีประเภทแท็บเล็ตเพื่อการศึกษานี้จะมีศักยภาพในการปรับใช้ค่อนข้างสูงและปรากฏชัดในหลากหลายปัจจัยที่สนับสนุนเหตุผลดังกล่าวทั้งนี้เนื่องจากสื่อแท็บเล็ต
( Tablet PC ) จะมีคุณลักษณะสาคัญดังนี้
สนองต่อความเป็นเอกัตบุคคล
( Individualization )
เป็นสื่อที่ก่อให้เกิดการสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างมีความหมาย
( Meaningful Interactivity )
เกิดการแบ่งปันประสบการณ์
( Shared Experience )
มีการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ที่ชัดเจนและยืดหยุ่น(
Flexible and Clear Course Design )
ให้การสะท้อนผลต่อผู้เรียน/ผู้ใช้ได้ดี ( Learner Reflection )
สนองต่อคุณภาพด้านข้อมูลสารสนเทศ ( Quality Information )
ข้อดี
ข้อเสียของแท็บเล็ต
..............................................................................................
ข้อดี
1.
แท็บเล็ตเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษาให้กับเด็กๆ
2.
ทำให้ครูสามารถเข้าถึงรูปภาพ
คลิปวิดิโอ และข้อมูลข่าวสารจากทั่วโลก
เพื่อใช้สร้างบทเรียนที่น่าสนใจให้แก่นักเรียน
ทำให้นักเรียนตั้งใจเรียนมากขึ้น
3.
เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้เด็กๆ
ได้ศึกษาวัฒนธรรมต่างแดนผ่านอินเตอร์เน็ตได้
ทุกที่ทุกเวลา
4.
ใช้เป็นวิดิโอแชทกับชาวต่างชาติเพื่อฝึกภาษาอังกฤษโดยไม่ต้องเขินอาย
เหมือนกับการสื่อสารต่อหน้าจริงๆ
5.
ทำให้การเรียนเป็นเรื่องสนุกและเข้าใจง่ายขึ้น
แตกต่างจากการเรียนหนังสือซึ่งน่าเบื่อและเข้าใจยากกว่า
ข้อเสีย
1.
เด็กจะอยู่คนเดียว เล่นคนเดียว
หรือเล่นกับเพื่อน 2-3 คน ซึ่งมีการออกกำลังกายน้อยลง
2.
มีปัญหาเรื่องสายตา
เพราะเด็กจะเล่นอยู่กับหน้าจอแท็บเล็บทุกๆวัน
และทำให้สุขภาพร่างกายทรุดโทรม
3.
เป็นการปูพื้นฐานให้เด็กคุ้นเคยกับการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์
ทำให้ผลการเรียนตกต่ำลงเนื่องจากติดเกมส์
2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร
ในสภาวะแห่งยุคทุนนิยม
ที่เศรษฐกิจเป็นตัวขับเคลื่อนและผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ
ก้าวรุดไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ประกอบกับประเทศต่าง ๆ นั้นอยู่รวมกันเป็นสังคมโลก
ไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวเดียวดายได้
จึงต้องมีการรวมตัวกันของประเทศในแต่ละภูมิภาคเพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรองและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศ
เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ร่วมและพัฒนาประเทศในภูมิภาคไปพร้อม ๆ กัน ด้วยเหตุนี้
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน
จึงได้มีข้อตกลงให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี
พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)
แต่ก่อนที่เราจะมาดูเนื้อหาสาระของการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนนี้ เราจะมาย้อนดูกันรวมตัวกันของประเทศในอาเซียนว่ามีการรวมตัวกันได้อย่างไร จนมาเป็นอาเซียนในปัจจุบัน
โดยอาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์
แต่ก่อนที่เราจะมาดูเนื้อหาสาระของการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนนี้ เราจะมาย้อนดูกันรวมตัวกันของประเทศในอาเซียนว่ามีการรวมตัวกันได้อย่างไร จนมาเป็นอาเซียนในปัจจุบัน
โดยอาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์
ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก
ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538 ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน
พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน
เมื่อ พ.ศ. 2542 ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด
10 ประเทศ
3.อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ
ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ
แสดงความคิดเห็น
ผศ.ดร.สมาน
ฟูแสง ได้พูดถึงครูกับภาวะผู้นำทางวิชาการว่า
"การที่ครูมีความรู้ความสามารถและแสดงออกให้เห็นว่าเป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน
เป็นที่ยอมรับของเพื่อนครู นักเรียน(นักศึกษา) และผู้ปกครอง จนทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมให้เกิดในองค์กรได้"
ผู้นำที่ดีจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ด้านคือ
·
ศรัทธา
·
ความไว้วางใจ
·
สร้างแรงบันดาลใจ “ครูกับภาวะผู้นำทางวิชาการ”
·
ยอมรับในความเป็นปัจเจกบุคคล
และได้พูดถึง“ครูกับภาวะผู้นำทางวิชาการ”โดยหยิบยกมาจาก Diann De Pasquale ศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
ได้เสนอว่า ครูที่จะเป็นผู้นำทางวิชาการ หรือผู้นำทางการเรียนการสอน ควรมีพฤติกรรม 7 ประการ คือ
1.
หาหนังสือที่ติดอันดับขายที่ดีที่สุดมาอ่าน
2.
อยู่กับปัจจุบัน/ทันสมัย
3.
หาข้อมูล
มีความรู้ที่เกี่ยวกับเด็ก
4.
ทำให้เด็กแสดงออกซึ่งการเป็นภาวะผู้นำ
5.
กำหนดให้เด็กทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม
6.
เชิญบุคคลภายนอกมาพูดให้เด็กฟัง
7.
ท้าทายให้เด็กได้คิด
ประเด็นที่สำคัญเกี่ยวกับครูผู้นำ
ต้องมีความศรัทธาในวิชาชีพ เชื่อมั่นในการเป็นครูที่ดี
มุ่งสอนให้ศิษย์เป็นคนดีของสังคม จนเป็นครูที่เป็นที่ไว้วางใจของทุกๆคน
และเป็นที่ยอมรับของเพื่อนครู นักเรียน และลูกศิษย์
4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า
การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก
ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร
และหานักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า
4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
4.2 เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน
4.3 ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
4.4 ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น
4.5 สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง เขียนอธิบายลงในบล็อก
4.6 อาจารย์จะพิจารณาจากผลงานและความตั้งใจ ความสื่อสัตย์ตนเอง และบอกเกรดว่าควรจะได้เท่าไร แสดงความคิดเห็น
4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
4.2 เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน
4.3 ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
4.4 ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น
4.5 สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง เขียนอธิบายลงในบล็อก
4.6 อาจารย์จะพิจารณาจากผลงานและความตั้งใจ ความสื่อสัตย์ตนเอง และบอกเกรดว่าควรจะได้เท่าไร แสดงความคิดเห็น
การเรียนวิชานี้
ผมคิดว่าการเรียนรู้โดยการใช้บล็อกมีประโยชน์มากมายหลายอย่าง เช่น
ใช้ในการทำงาน
ใช้ในการเก็บผลงานต่างๆที่เราได้ทำไว้
และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้ดีด้วย เป็นต้น
การใช้บล็อกในการทำงานเป็นสิ่งที่มีประโยชน์กับตัวเราเองทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
เพราะเราสามารถศึกษาค้นคว้าเมื่อไรก็ได้ สำหรับการเรียนรู้ของผมเองก็สามารถเรียนรู้ได้จากอาจารย์อภิชาติ วัชรพันธุ์
ที่ตั้งใจสอนพวกผมเป็นอย่างดี
จนทำให้ผมมีความรู้มากมาย
และทำให้ผมสามารถนำความรู้นี้ไปสอนกับเพื่อนๆที่ยังไม่เรียนได้ด้วย การศึกษาทางบล็อกนี้ก็สามารถเก็บข้อมูลและศึกษาข้อมูลที่เราเก็บไว้ผ่านทางบล็อกได้เลย
ถ้าอนาคตมีการเรียนรู้โดยใช้บล็อกผมคิดว่ามันคงเป็นสิ่งที่ดีมาก ทำให้เกิดความสะดวงสะดวก สบายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และการใช้บล็อกทำให้มีประโยชน์ทั้งตัวเราเองและผู้อื่นด้วย
การพิจารณาในการที่จะได้คะแนนในวิชานี้ ผมก็มีความพยายามมาก ตั้งใจเรียนและขยันเรียนมาตลอด บางครั้งผมอาจจะขาดเรียนบ้างก็ตาม ซึ่งที่จำได้ผมได้ขาดเรียนไป 2 ครั้งด้วยกัน คือ
วันแรกที่ขาด ผมไม่สบายและท้องเสีย
วันที่สองที่ขาด ไปฮารีรายออิดิลฟิรตรี แต่ผมก็พยายามศึกษาจากเพื่อนๆ
จนสามารถทำงานตามที่อาจารย์สั่งได้สำเร็จ
และผมเป็นคนที่ทุ่มเทกับการทำงานนี้
เพราะในการทำทุกครั้งผมต้องให้งานออกมาดี หรือออกมาอย่างถูกต้องและสมบรูณ์ ความคิดเห็นของผมในการทำงานบนบล็อกนี้แต่ละครั้งมันก็มีอุปสรรคคือไม่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ตที่หอ
แต่ผมก็พยายามทำในคาบเรียนจนสำเร็จตาม
ถ้าถามเรื่องเกรดอยากได้เกรดอะไร วิชานี้ผมอยากได้เกรด
A เพราะงานทุกชิ้นผมตั้งใจทำมากและวิชานี้เป็นวิชาสำคัญมากสำหรับตัวของผมเอง ถึงแม้ว่าผมเป็นผู้ชายคนเดียวในห้องนี้ ผมก็ทำงานเต็มที่ เพราะวิชานี้ผมคิดว่าสามารถทำให้ผมเรียนรู้อะไรที่ผมไม่เคยได้เรียนรู้มาก่อน
เรื่องการทำบล็อกจากสิ่งที่ไม่รู้จักกลายเป็นสิ่งที่รู้จักเป็นอย่างดี และสามารถสอนเพื่อนๆได้ด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น