1.
ผู้สอนชื่ออะไร สอนเรื่องอะไร และระดับชั้นที่สอน
ชื่อผู้สอน อ.สุรัช อินทสังข์
สอนเรื่อง เลขหมุนรอบตัวเรา
คณิตศาสตร์ในสวน (ตอนที่ 2) เช่น เทคนิคการหาส่วนสูงจากสุ่มไม้โค้ง
ที่เราวัดไม่ถึงและการหาเส้นรอบวงด้วยเชือก
สอนระดับชั้น ประถมศึกษา
2.
เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง
อ.สุรัช อินทสังข์
ได้สอนเรื่องเทคนิคต่างๆในการหาความสูง ความยาว
ของสุ่มไม้โค้งหรือต้นไม้สูงๆได้อย่างแม่นยำ
ซึ่งทำให้คณิตศาสตร์มีความจำเป็นมากในการคำนวณหาค่าความสูง ความยาวกับสิ่งรอบตัวเรา
จากตัวอย่างที่
1 อาจารย์สุรัช สอนเรื่องการหาความสูงของสุ่มไม้โค้ง
ซึ่งหาจาก ความโค้งของสุ่ม แล้วหาความสูง จึงทำให้ได้ข้อมูลจากการคำนวณค่า
ว่าความสูงที่ได้นั้นเป็นค่าเท่าไร ทำให้สะดวกในการทำงานของคนสวนมากยิ่งขึ้น
จากตัวอย่างที่
2 อาจารย์สุรัช สอนเรื่องการคำนวณหาพื้นที่ภายในวงกลมจากวงเวียนของสวนดอกไม้ ว่าในพื้นที่นั้นมีค่าเท่าไร
เพื่อที่จะตกแต่งดอกไม้ ได้อย่างเหมาะสม
ซึ่งอาจารย์ก็ได้ใช้การคำนวณจากสอนรอบวงของวงเวียนดอกไม้นั้นและคำนวณหาพื้นที่ภายใน
ได้สูตร ความยาวของเส้นรอบวง = 2
πr
จากการวัด ได้เส้นรอบวง = 40 เมตร ,
π = 3.14
จะได้ r
(รัศมี) = 6.36
ดังนั้นจะได้สูตร พี้นที่ของวงกลม = πr²
จะได้ พื้นที่ของวงกลม = (3.14)(6.36 x 6.36)
ได้พื้นที่ของวงกลม = 127 ตารางเมตร
ดังนั้นการที่เราใช้ชีวิตประจำวันในแต่ละวันนั้น
สิ่งที่อยู่รอบตัวเราทั้งสิ้นล้วนเป็นคณิตศาสตร์ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นในห้องเรียน หรือนอกห้องเรียน
ทุกคนสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ได้ทั้งสิ้น
3.
การจัดกิจกรรมการสอน
การเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์หรือวิชาใดๆก็ตาม ไม่จำเป็นต้องเรียนเฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น ทุกสถานที่ก็สามารถเรียนได้ทั้งสิ้น
สิ่งที่สำคัญที่เกี่ยวกับการศึกษาในปัจจุบันมากที่สุดคือ การศึกษารอบตัวเอง ซึ่งมีสิ่งแวดล้อมมากมายที่จะสามารถศึกษาได้
ไม่ว่าการวัดความสูงของต้นไม้ หรือความยาว ความกว้างของสถานที่ต่างๆที่เราต้องการศึกษา
เพราะฉะนั้น
การศึกษารอบตัวเองกับสิ่งแวดล้อมรอบข้าง สามารถให้นักเรียนได้เรียนจากทฤษฎีแล้วปฏิบัติกันจริง
ช่วยให้นักเรียนใช้สติปัญญา อารมณ์ และคุณธรรมจริยธรรมในการพัฒนาการทางความคิดได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งดีกว่าการเรียนเพียงแต่ในห้อง
จากตำรับตำราและทฤษฎีเพียงอย่างเดียว
4.
บรรยากาศการจัดห้องเรียนเป็นอย่างไร
จากอาจารย์สุรัช
ได้สอนเทคนิคต่างๆ เป็นการสอนนอกห้องเรียนที่สามารถให้นักเรียน เรียนแล้วเห็นภาพพจน์ที่แท้จริง
จึงทำให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนมากยิ่งขึ้น ดีกว่าการเรียนแต่ในห้องแคบๆ จนทำให้นักเรียนเบื่อกับการเรียน
เมื่ออาจารย์เปิดกว้างทางความคิดแล้วนักเรียนจะมีความกล้าแสดงออก กล้าตัดสินใจ
มีความสนใจในเรื่องที่ตนเองชอบ
จนสามารถทำให้นักเรียนมีความรักกับสิ่งๆนั้นจนต้องการทราบคำตอบที่แท้จริงของสิ่งที่ต้องการหา
เช่น ความสูงของต้นไม้ พื้นที่ภายในเส้นรอบวง หรือสิ่งต่างๆที่นักเรียนสนใจ นี่เองที่ทำให้นักเรียนมีความสุขกับการศึกษา
ดีมากๆครับ
ตอบลบ