ทฤษฏีการบริหารการศึกษา
ทฤษฏีมาสโลว์ เป็นผู้วางรากฐานจิตวิทยามนุษยนิยม
ได้พัฒนาทฤษฎีแรงจูงใจ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับ
ได้แก่
1. ความต้องการทางกายภาพ คือ ความต้องการพื้นฐานของร่างกายซึ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต
2. ความต้องการความปลอดภัย คือ
ความต้องการมั่นคงปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
3. ความต้องการทางสังคม คือ
ความต้องการที่จะเป็นที่รักของผู้อื่น ต้องการมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น
4. ความต้องการยกย่องชื่อเสียง คือ
ความปรารถนาที่จะมองตนเองว่ามีคุณค่าสูง เป็นที่น่าเคารพยกย่อง
5. ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต คือ
ความต้องการที่จะรู้จักและเข้าใจตนเองตามสภาพที่แท้จริงเพื่อพัฒนาชีวิตของตนเองให้สมบูรณ์
ทฤษฎี X(Theory X)
เป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม
โดยมองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ไม่ชอบงานและพยายามหลีกเลี่ยงงาน ทฤษฎี Y(Theory Y) เป็นปรัชญาการบริการจัดการ
โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ
มีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงานและไม่มีความเบื่อหน่ายในการทำงาน
ทฤษฎี A คือ Amarican Theory เป็นทฤษฎีว่าด้วยการบริหารจัดการร่วมสมัยตามแบบของอเมริกา
ซึ่งให้หลักการว่า การบริหารจัดการแบบนี้ ต้องอาศัยการจัดการจากพื้นฐานของบุคคล
ของผู้บริหารที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งในทฤษฎีนี้มีหลักสำคัญ 3 ประการ คือ
1.)
Individualism คือ การที่สังคมอเมริกันเป็นสังคมแบบ
ปัจเจกบุคคล ซึ่งจะมีความรับผิดชอบต่อตัวเองมาแต่อดีต
และเมื่อคนต่างชาติโดยเฉพาะคนตะวันออกเข้าไปอาศัยในอเมริกันก็จะสังเกตว่า
คนอเมริกันเป็นคนโดดเดี่ยว มีสุงสิงกับใคร สังคมแบบ Individualism ส่งผลให้เกิดบุคลากรที่มีความรับผิดชอบในหน่วยงานสูง แต่ก็เกิดผลเสียคือ
ไม่เกิดความผูกพัน หรือเป็น
2.) Short Term
Employment คือ การจ้างงานในระยะสั้น
คนอเมริกันมักไม่มีความผูกพันในครอบครัว ในที่ทำงาน พร้อมเสมอที่ออกจากงาน ย้ายงาน
จึงมักมีบริการให้เช่าสิ่งต่าง ๆ
ซึ่งมองว่าต้นทุนในการขนย้ายเฟอร์นิเจอร์เมื่อย้ายงาน ออกจากบ้าน
จะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าค่าเช่า
3.) Individual Decision Making คือ สูง มีความมั่นใจในการตัดสินใจ กล้าตัดสินใจ
ทำให้ผู้บริหารไม่ต้องไปดูแลอย่างใกล้ชิด ผลเสียคือ ขาดการทำงานเป็นทีม
William Ouchi : ทฤษฎี Z
ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีลูกผสมระหว่างญี่ปุ่นกับอเมริกัน
คุณวิลเลียม โอชิ ซึ่งเป็นชาวซามูไรเป็นคนคิดขึ้นมา
วิลเลี่ยม
โอชิ มองเห็นข้อดีและข้อเสียของ 2 ทฤษฎีตัวอย่าง
แล้วนำข้อดีข้อเสียนั้นมาวิเคราะห์สร้างเป็นทฤษฎีร่วมสมัย ที่เรียกว่า Blend
Together หรือการนำมาผสมผสานให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เรียกว่า
ทฤษฎีZ ซึ่งเป็นแนวคิดของการบริหารจัดการเชิงจินตนาการ
โดย
1. ใช้วิธีแบบ Long
Term Employment หรือการจ้างงานระยะยาวขึ้น
ซึ่งเป็นทางสายกลาง คือ ไม่ต้องจ้างตลอดชีวิตแต่ก็ไม่ใช่การจ้างแบบระยะสั้น
แต่เน้นการจ้างในระยะเวลาที่นานพอสมควรแล้วสร้างความผูกพัน
2. จะต้องมีลักษณะที่เรียกว่า Individaul
Responsibility คือ จะต้องมีความรับผิดชอบส่วนบุคคล
ซึ่งนำเอาหลักแนวคิดแบบอเมริกันมาใช้กับบุคลากรในหน่วยงานให้มีความรับผิดชอบต่อตนเอง
กล้าตัดสินใจ ไม่ต้องขึ้นอยู่กับผู้บริหารมากจนเกินไป
3. ต้องมี Concential
Decision Making คือ การตัดสินใจต้องทำเป็นทีม ต้องมีการพูดคุย
ถึงผลดีผลเสียของการบริหารจัดการแบบต่างๆ
Henri Fayol
เป็นบิดาของทฤษฎีการจัดการการปฏิบัติการ(Operational management theory) หรือบางทางก็ถือกันว่าเป็นบิดาของการบริหารจัดการสมัยใหม่ เขาเชื่อว่าการบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ และเขาสนใจที่จะศึกษาองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ (Managerial activities) ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมห้าอย่างคือ
1. การวางแผน(Planning)
2. การจัดองค์การ(Organizing)
3. การบังคับบัญชา หรือการสั่งการ (Commanding)
4. การประสานงาน (Coordinating)
5. การควบคุม (Controlling)
อังริ ฟาโยล (Henri Fayol)
อังริ ฟาโยล (Henri Fayol)เป็นนักอุตสาหกรรม ชาวฝรั่งเศส มีประสบการณ์ด้านการบริหารองค์การของรัฐขนาดใหญ่ ได้นำเสนอหลักการทีเขาเรียกว่า หลักการจัดการ 14 ประการ (Fayol's Fourteen Principles of Management) ซึ่งมีดังต่อไปนี้ คือ
1. การจัดแบ่งงาน (division of work)
2. การมีอำนาจหน้าที่ (authority)
3. ความมีวินัย (discipline)
4. เอกภาพของสายบังคับบัญชา (unity of command)
5. เอกภาพในทิศทาง (unity of direction)
6. ผลประโยชน์ของหมู่คณะจะต้องเหนือผลประโยชน์ส่วนตน
7. มีระบบค่าตอบแทนที่ยุติธรรม (remuneration)
8. ระบบการรวมศูนย์ (centralization)
9. สายบังคับบัญชา (scalar chain)
10. ความเป็นระบบระเบียบ (order)
11. ความเท่าเทียมกัน (equity)
12. ความมั่นคง และสามัญฐานะของบุคลากร (stability of tenure of personnel)
13. การริเริ่มสร้างสรรค์ (initiative)
14. วิญญาณแห่งหมู่คณะ (esprit de corps)
Max
Weber : ทฤษฎีการจัดการตามระบบราชการ
(Bureaucratic
Management)
แมกซ์
เวเบอร์ (Max Weber) เป็นนักสังคมวิทยา
ชาวเยอรมัน ได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การ ที่เรียกว่า bureaucracy เขาเห็นว่าเป็นลักษณะองค์การที่เป็นอุดมคติที่องค์การทั้งหลายควรจะเป็น
หากได้รับการพัฒนาในระดับที่เหมาะสม โดยสรุปแล้วแนวคิดการจัดองค์กรของเว็บเบอร์มี 6 ประการมีดังนี้
คือ
1.องค์การต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ
เพื่อให้แต่ละส่วนงานได้มีโอกาสทำงานในส่วนที่ง่ายพอ
และมีการกำหนดงานนั้นๆให้ชัดเจนและไม่สับสน (Division of labor)
2.องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับชั้น
( Authority Hierarchy)
3.ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็นทางการ
( Formal Selection)
4.องค์การต้องมีระเบียบ
และกฏเกณฑ์ (Formal Rules and Regulations)
5.ความไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
( Impersonality)
6.การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพ
(Career Orientation)
Luther Gulick : POSDCORB
Luther Gulick เป็นผู้คิดรูปแบบการบริหารจัดการโดยมีกิจกรรม 7 ประการมาใช้ในการบริหารจัดการ
ในวงการบริหารจะรู้จักกิจกรรมทั้ง 7 ประการนี้เป็นอย่างดี มีคำย่อว่า POSDCORB (CO คือคำเดียวกัน) กิจกรรม 7 ประการมีดังนี้
P คือการวางแผน (planning) หมายถึง การกำหนดเป้าหมายขององค์การ
O คือการจัดองค์การ (organizing) หมายถึง การจัดตั้งโครงสร้างอำนาจอย่างเป็นทางการ
D คือการสั่งการ (directing) หมายถึง
การที่หัวหน้าฝ่ายบริหารมีหน้าที่ต้องตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา
S คือการบรรจุ (staffing) หมายถึง หน้าที่ด้านบริหารงานบุคคลเพื่อฝึกอบรมเจ้าหน้าที่
CO คือการประสานงาน (co-ordinating) หมายถึง หน้าที่สำคัญต่าง
ๆ ในการประสาน
R คือการรายงาน (reporting) หมายถึง
การรายงานความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ในองค์การ
B คือการงบประมาณ (budgeting) หมายถึง หน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวของกับงบประมาณ
Frederick Herzberg : ทฤษฎี 2 ปัจจัย (Two Factors Theory)
เฮิร์ซเบอร์กได้ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับแรงจูงใจของคน
เขาได้ศึกษาโดยการสัมภาษณ์พนักงานในเรื่องของความพึงพอใจจากการทำงาน
และทำให้เขาได้ผลสรุปว่าแรงจูงใจของมนุษย์จะประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ
1. ปัจจัยภายนอก(Hygiene Factors) ได้แก่
* นโยบายขององค์กร
* ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน
2. ปัจจัยภายใน(Motivation
Factors) ได้แก่
* การทำงานบรรลุผลสำเร็จ
* ทำงานได้ด้วยตนเอง
* ความรับผิดชอบ
Frederick W. Taylor : ทฤษฏีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์
เทย์เลอร์
ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์
ปรัชญาการบริหารของเทย์เลอร์ได้แก่
1.ทำการศึกษางานแต่ละส่วนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานแต่ละอย่าง
2.ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกและการฝึกอบรมพนักงานและมอบหมายให้มีความรับผิดชอบ
3. มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน
4. แบ่งงานและความรับผิดชอบในงานเป็นส่วนต่าง ๆ
Henry L. Gantt : ผู้พัฒนาการอธิบายแผนโดยใช้กราฟ (Gantt Chart)
Gantt เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงที่สุดในด้านที่นำเอากราฟ "Gantt Chart" มาเป็นสื่อในการอธิบายแผน การวางแผน การจัดการ
และการควบคุมองค์กรที่มีความสลับซับซ้อน
เพื่อให้ผู้รับฟังเกิดมิติในการรับรู้มากยิ่งขึ้น
นอกจากนั้นแล้วเขายังได้คิดวิธีจ่ายค่าตอบแทนในการทำงานแบบใหม่
โดยใช้วิธีให้สิ่งจูงใจ
Frank B. & Lillian M. Gilbreths : Time – and – Motion
Studies
แนวคิดของ Gilbreth เน้นการกำจัดความสิ้นเปลือง
และความไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน โดยการหาวิธีการทำงานที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง (the one best way to do work) การศึกษาที่สำคัญคือลักษณะการเคลื่อนไหวของร่างกายในการทำงาน
(Motion Study)ผังกระบวนการทำงาน
(Work Flow Process Chart)พวกเขาได้นำกล้องเพื่อทำการถ่ายรูปเก็บข้อมูล
นำมาใช้ศึกษาลักษณะการทำงานของมนุษย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น